SDGs ITA ITA   ร่วมงานกับเรา    074-609667 , 095-432-6621  สมัครเรียน     Language Thai / English / China


 โครงการบูรณาการเรียนรู้ ส.มทษ แลนา พาลุยภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ สำนักส่งเสริมบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน (สสช.)
ประกาศวันที่ 20 ม.ค. 2566     ภาพข่าวกิจกรรม     โพสต์โดย นักวิชาการคอมฯ (วทัญญู)
จำนวนการรับชม 23 ครั้ง


วันที่ 20 - 21 มกราคม 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมโครงการบูรณาการเรียนรู้ ส.มทษ แลนา พาลุยภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ สำนักส่งเสริมบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน (สสช.) 

วันที่ 1 มีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมเรียนรู้ทั้งสิ้น 5 กิจกรรม 
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้วิถีชาวนา (ดำนา) โดยเริ่มเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น นั่นคือ การฝึกดำนา และปักต้นกล้าข้าว ทำให้นักเรียนได้ซึมซับและเรียนรู้วิถีชาวนาผ่านการลงมือทำ
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมครัวถิ่นลุง (อาหารพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง) ได้แก่ การฝึกทำซูชิข้าวสังข์หยด ยำลูกเบร่ ไข่ปลาเลน้อย ทอดมันหัวปลี 
กิจกรรมที่ 3 - 4 กิจกรรมเชื่อหรือไม่ (พันธุ์ข้าวพื้นบ้านและความเชื่อ) และนักธุรกิจรุ่นเยาว์ (แปรรูป) คือ การศึกษา และสังเกตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นถิ่นภาคใต้ ผ่านการเรียนรู้ประวัติพระแม่โพสพ ตลอดการลงมือทำขนมโค และมีการนำข้าวเหนียวดำมานวด ผ่านการกรรมวิธีการสีข้าวแบบโบราณ  
กิจกรรมที่ 5 นักเรียนได้แวะชมดื่มด่ำบรรยากาศตอนเย็น ณ สะพานเอกชัย ซึ่งเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่เชื่อมการเดินทางระหว่างจังหวัดพัทลุงและสงขลา นักเรียนได้เรียนรู้ทรัพยากรธรรมที่อุมดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย 

กิจกรรมวันที่ 2
สำหรับวันที่ 2 ของการเข้าร่วมโครงการ นักเรียนออกเดินทางตั้งแต่ 5.00 น.  วันนี้ออกเดินทางจากหอพักพะยอม 3 ตรงเวลากันทุกคน

สำหรับกิจกรรมแรก คือ ฐานกิจกรรมล่องเรือชมวิถีสายน้ำ ลุ่มทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนธรรมชาติ ระบบนิเวศวิทยา เพื่อเป็นการศึกษาโครงสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนบนและทะเลน้อย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ชื่นชมคลองสองเล คลองปากประ ทะเลสาบสงขลาตอนบน สัมผัสแสงแรกของวัน ดูควายน้ำ สาหร่ายทะเล ดื่มด่ำกับทัศนียภาพยามเช้า ทั้งนี้ นักเรียนตื่นเต้นและสนุกกับการนั่งเรือครั้งแรก 

กิจกรรมที่ 2 - 5 กิจกรรมเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ได้แก่ 
1. ผูกรัดมัดย้อม (ผ้ามัดย้อม) 
2. สาคูคู่ครัวไทย (สาคู)
3. Enjoy Thai Dessert (ขนมคนที)
4. สานสุขให้กระจูด (กระจูด) 
ซึ่งกิจกรรมทั้ง 4 นี้ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรชุมชนคอยให้ความรู้และสอนทุกขั้นตอนอย่างละเอียด อีกทั้งยังได้ผลงานตัวเองกลับไปเป็นของฝากอีกด้วย

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมสรุปองค์ความรู้และนำเสนอเป็นรายห้องเรียน ซึ่งนักเรียนนำองค์ความรู้ที่ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงจากทั้ง 2 วัน ในทุก ๆ กิจกรรมมาสรุปเป็นแผนผังความคิดได้อย่างน่าชื่นชม แสดงถึงทักษะการคิด วิเคราะห์ และนำเสนอได้อย่างสมบูรณ์แบบและกิจกรรมสุดท้ายก่อนกลับได้แวะชมบรรยากาศตอนเย็น ณ ตลาดน้ำทะเลน้อย เลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองทะเลน้อย ก่อนที่จะเดินทางกลับในเวลา 18.30 น.

ภาพกิจกรรม
กดแชร์ข้อมูล